transformex.org

คำ สอน ธรรมะ / ธรรมะ - วิกิพจนานุกรม

Saturday, 18-Jun-22 21:56:23 UTC

โสนิ เขียนต่อไปว่า "การเสพเนื้อสัตว์ได้ฝังรากลงในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเสียแล้ว จนกระทั่งไม่รู้สึกกันว่าเป็นของชั่วร้าย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า จะต้องมีคนฉลาดการคัดค้านในข้อนี้" จริงทีเดียวเราจะได้ฟังพุทธศาสนิกชนกล่าวความเช่นว่า "เนื้อสัตว์ตายในตลาดเป็นของบังสุกุล อาจรับประทานได้" ดังนี้! เพื่อนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเอ๋ย!

  1. ธรรม - วิกิพจนานุกรม
  2. ธรรมะ - วิกิพจนานุกรม
  3. คําสอน ธรรมะ
  4. คำแปลธรรมเทศนาของพระโลกนาถ/ธรรมเทศนา/2 - วิกิซอร์ซ

ธรรม - วิกิพจนานุกรม

อย่าเป็นสัมมาทิฐิกันแต่ทางปริยัติเลย สำหรับชาวฮินดูนั้น เขาเห็นกันว่า พุทธศาสนิกชนเป็นคนแผลงจากหลักเดิม โดยไม่มีที่สุด ทำไม เพราะพุทธศาสนิกชนนั้นยอมรับหลักธรรมที่ว่า อหิงสา ปรมา ธมฺมา ความไม่เบียดเบียนกันเป็นธรรมะสูงสุด และในเวลาเดียวกัน เขาเหล่านั้นพากันรับประทานเนื้อสัตว์ที่ถูกฆาตกรรม? เคยมีอยู่เสมอๆ ที่คนขอให้อาตมายกข้อความในพระไตรปิฎก มาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงบริโภคแต่ผัก คำตอบของอาตมาคือ "ให้เปิดพระมหาไตรปิฎกนั้นไปทุกๆ หน้า ท่านจะพบคำว่ากรุณา มีปรากฏอยู่ทุกๆ หน้า" หัวใจของพระพุทธศาสนานั้น คือ กรุณา กรุณา กรุณา ดังนั้น ท่านหวังจะเป็นพุทธศาสนิกชนได้อย่างไร ถ้าท่านจะยังชีพของท่านอยู่ด้วยเลือดเนื้อของสัตว์ ที่ถูกฆาตกรรมชีวิตมา? จะช่วยมิจฉาชีพของคนฆ่าสัตว์ให้คงอยู่ทำไม? ทำไมไปอุดหนุนให้เขาทำการฆาตกรรม ด้วยวิธีจ่ายเงินค่าสัตว์ที่ถูกทำการฆาตกรรมมาแล้วนั้น? การช่วยเหลือของท่านเช่นนี้ เป็นการสมคบในกรรมร่วมนั้นด้วย อย่าสงสัย การภาวนา แผ่เมตตาและกรุณาจิต นั้น จะทำไปไม่ได้ ถ้าท่านยังเสพเนื้อสัตว์ ขณะใดอาตมาพบเนื้อสัตว์เข้าสักชิ้นหนึ่งในปาก อาตมาก็รู้สึกเหมือนกับฉันเนื้อทารก และรีบถ่มออกมาได้ทันที โดยไม่รู้สึกตัว เมื่อบำเพ็ญเมตตา และกรุณา-ภาวนา ได้สำเร็จดีแล้ว การเสพเนื้อสัตว์จะทำไปไม่ได้เลย การเสพเนื้อสัตว์จะทำไปไม่ได้ ในเมื่อกำลังบำเพ็ญการแผ่เมตตา และแผ่เมตตาก็ทำไปไม่ได้ ในเมื่อกำลังเสพเนื้อสัตว์ การที่จะสาธยายว่า สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนตุ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอยู่เป็นสุขๆ เถิด!

ธรรมะ - วิกิพจนานุกรม

คําสอน ธรรมะ

คําสอน ธรรมะ

คำแปลธรรมเทศนาของพระโลกนาถ/ธรรมเทศนา/2 - วิกิซอร์ซ

  1. ธรรมะ - วิกิพจนานุกรม
  2. ไทร เกาหลี บอน ไซ
  3. คำแปลธรรมเทศนาของพระโลกนาถ/ธรรมเทศนา - วิกิซอร์ซ